Collections
0
Preservation Project
0
Sounds
0
ABOUT US

Gerald P. Dyck Ethnomusicology Archive of Lanna Music

หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาเจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck Ethnomusicology Archive of Lanna Music) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์เจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck) ระหว่าง พ.ศ. 2510-2514 ได้ทำการศึกษาภาคสนามดนตรีล้านนา บันทึกทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนบันทึกเสียงดนตรีล้านนาเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นนักดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (ethnomusicologist) ผู้ศึกษาดนตรีล้านนาคนแรก และได้มอบข้อมูลทั้งภาพและเสียงแก่นายสงกรานต์ สมจันทร์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลดนตรีล้านนาออนไลน์ ซึ่งเป็นที่มาของหอจดหมายเหตุดนตรีล้านนานี้

Play Video
SHARING KNOWLEDGE

Lanna Music Resources

แหล่งการเรียนรู้ดนตรีล้านนาเพื่อการศึกษาต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อมูลดนตรีล้านนาในเชิงวิชาการ แลกเปลี่ยนทัศนะและความคิดเห็นเพื่อที่จะทำให้ดนตรีล้านนามีความเจริญก้าวหน้าและมีการศึกษาต่อยอดในมิติต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

"หวังว่าจะเป็นประโยชน์ แล้วนักดนตรีสมัยใหม่จะได้ใช้ประโยชน์ เพื่อเข้าใจความหลังของดนตรีพื้นเมือง"

Gerald P. Dyck
Ethnomusicologist

"การบันทึกเสียงเพลงล้านนาจำนวนมากมาย นับเป็นมรดกดนตรีล้านนาที่ควรค่าเป็นอย่างยิ่ง ภาพถ่ายการปฏิบัติงานภาคสนามได้บอกขานปรากฏการณ์ทำงานในลักษณะการมีส่วนร่วมของพ่อครูจริยะ"

รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

"หลักฐานงานภาคสนามที่ไดค์ได้ศึกษาเอาไว้ แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลที่ถูกจัดการอย่างมีระบบที่สมบูรณ์"

ศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

"ที่สุดของที่สุดคือการแสดงหัวใจทองคำของนักวิชาการดนตรีที่น้อยรายจะเป็น คือการบำเพ็ญทานบารมีโดนสุจริตใจ ข้อมูลดนตรีอายุกว่าห้าทศวรรษ เดินทางกลับบ้านในที่สุด"

อาจารย์อานันท์ นาคคง
นักมานุษยวิทยาดนตรี

Support for Lanna Music Preservation

สนับสนุนเราเพื่อการอนุรักษ์ดนตรีล้านนาอย่างยั่งยืน