ชื่อหนังสือ: มานุษยวิทยาดนตรีล้านนา
ผู้เขียน: สงกรานต์ สมจันทร์
ครั้งที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2563
พิมพ์ที่: บริษัท ส. อินโฟกราฟฟิค จำกัด 6/8 ถ.หมื่นด้ามพร้าคต ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
สังเขปเนื้อหา:
Reflections on My Contributions to Lanna Music by Gerald P. Dyck
มานุษยวิทยาดนตรีขั้นนำ
ชีวิตและงานของเจอรัลด์ ไดค์ กับดนตรีล้านนา
A Northern Thai Sampler: หลักฐานวีดิทัศน์ดนตรีล้านนาที่สูญหายไปกว่า 3 ทศวรรษ
ดนตรีล้านนา: มุมมองการศึกษาทางดนตรีวิทยาที่ผ่านมา
เครื่องดนตรีวิทยากับการศึกษาดนตรีล้านนา
ห้าทศวรรษการศึกษาพิณเปี๊ยะ: ประวัติและพัฒนาการ
มีความโดนเด่นทั้งในส่วนของการใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่บันทึกเรื่องราวดนตรีล้านนาในอดีต และความโดดเด่นจากมุมมองทางมานุษยวิทยาดนตรีที่ทันสมัย แหลมคม และใจกว้างของผู้เขียนเอง ที่สามารถหยิบยกข้อมูลออกมาใช้อธิบายได้อย่างดี จึงทำให้หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าที่เชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบัน และมองอนาคตดนตรีล้านนาและการศึกษาดนตรีล้านนาได้อย่างลงตัว
นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาดนตรี โดยเฉพาะพ่อครูจริยะ
(Gerald P. Dyck) การนำเสนอบทวิทยาของท่านไว้ในเบื้องต้นของหนังสือ การคงไว้ด้วยการเสนอความรอบรู้ตามภาษาต้นฉบับที่คงสำนวนคำ การอธิบายที่ยอดเยี่ยมของพ่อครูจริยะ สิ่งนี้คือหนึ่งใน “กตเวทิตา” เพราะรสของคำได้สื่อความรู้และบริบทที่เรียบเรียงไว้ บอกให้ทราบว่าท่านคือนักมานุษยวิทยาดนตรีคนสำคัญที่ศึกษางานอย่างลงลึก
แต่ผมคิดว่าผมเห็นเข้าไปถึงความรู้สึกที่เรียกว่ารักและศรัทธาของอาจารย์สงกรานต์ที่มีต่อพ่อครูจริยะ ความรักของอาจารย์สงกรานต์ที่มีต่อดนตรีล้านนาในทิศทางที่พ่อครูจริยะรัก รวมไปถึงความศรัทธาในวิชาการทาง ethnomusicology ด้วย นาน ๆ ทีจะเห็นความศรัทธาที่เป็นแรงขับเคลื่อนคนหนุ่มให้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างนี้ ไม่ใช่คุณค่าเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสังคมที่ท่านมีชีวิตอยู่ร่วมด้วย