ชื่อหนังสือ: ดนตรีล้านนา: บางบท รวมบทความบางบทเกี่ยวกับดนตรีล้านนา
ผู้เขียน: สงกรานต์ สมจันทร์
ครั้งที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558
พิมพ์ที่: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 233 ซอยเพชรเกษม 102/3 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
สังเขปเนื้อหา:
- Gerald P. Dyck นักดนตรีชาติพันธุ์วิทยาผู้ศึกษาดนตรีล้านนาคนแรก
- เบื้องหน้าเบื้องหลังและที่มาของภาพช่างปี่และช่างซอเชียงใหม่สมัยรัชกาลที่ 5
- ดนตรีรำวงในสังคมเชียงใหม่-ลำพูน ทศวรรษ 2540-ปัจจุบัน
- เพลงมอญโยนในวงพาทย์ค้องลำปาง
- ทำนองบะเก่าบะกล๋าง โครงสร้างและความสัมพันธ์กับทำนองตั้งเชียงใหม่
- การประกวดวงเครื่องสายล้านนา: ปัญหาและข้อเสนอแนะ
- เขาสั่งห้าม “ดีดพิณเปี๊ยะ” จริงหรือ?
- การปรับตัวของดนตรีพื้นบ้านล้านนา
- 88 ปี: การเดินทางของเพลงม่านมุ้ยเซียงตา
- พิธีกรรมและความเชื่อในดนตรีล้านนา: แนวคิดโดยสังเขป
- ทบทวนความรู้ “ซอล่องน่าน”
- “กลองชุม” วงดนตรี “ปี่กลอง” ของล้านนา
As this book establishes, the music, dance, and culture of Lanna are not museum pieces or historic relics, but are vibrantly evolving contemporary expressions of place. Serious studies such as those in this volume contribute to our understanding of Lanna music while firmly promoting and furthering its liveliness.

And I thank him especially for honoring my role as researcher during those special years in Chiang Mai. It is my hope that Lanna music will continue to grow and prosper.

เรื่องราวมิใช่มีเพียงเนื้อหาของชาวต่างชาติต่างภาษาเท่านั้น เพราะเนื้อหาสาระที่มีความสำคัญของดนตรีล้านนาอีกหลายเรื่องได้นำเสนอตามลำดับต่อๆ กัน...ตลอดจนเนื้อหาและข้อมูลอีกจำนวนมากที่อธิบายไว้ ดังปรากฏในแต่ละสาระ ยิ่งอ่านก็ยิ่งชวนให้อ่านซ้ำย้อนกลับทวนทบอีกเพื่อเก็บรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหัวเรื่อง

การทบทวนวรรณกรรม ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทำให้เข้าใจได้โดยง่ายว่า ผู้เขียนได้อ่านและตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารหลายๆ ฉบับก่อนลงมือเขียน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าผู้เขียนได้ปรับใช้เทคนิคการวิจัยมาทำงานในการเขียนบทความ

One thought on “ดนตรีล้านนา: บางบท (พิมพ์ครั้งที่ 2)”