
บทความเรื่อง "เพลงพื้นบ้านล้านนาไทย" เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง "เพลงพื้นบ้านลานนาไทย" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์) วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2524
ในสภาพปัจจุบันหรืออดีตกาลอันไกลและยาวนานของมนุษยชาติ มีสิ่งที่จำเป็น 2 ประการ คือ อาหาร กาย 1 ยาหารใจ 1 อาหารทางกายก็คือ ข้าวนาปัจจัยที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้คงอยู่และเจริญเติบโตสืบไป แลพร้อมกันนั้น อาหารทางใจ ซึ่งเป็นมในสัญเจตนาการ คือ การให้อาหาร จากสัมผัสของอินทรีย์ หาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจก่อเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นในทางจิตใจให้มีความสุขแลความทุกข์ ในที่นี้ขอกล่าวถึงอาหารใจที่มนุษย์ซึ่งได้รับจากเสียงเพลงขับกล่อม เสียงซอ เสียงจ๊อย และเสียงดนตรี ให้มนุษย์มีสุนทรียะ จิตใจอิ่มเอิมด้วยความสุขอันหวานมีจินตนาการสร้างสรรค์สังคมให้เจริญรุ่งเรืองบางอย่างเกิดขึ้นมาใหม่มางอย่างทรงอยู่ในสังคมนั้น บางอย่างก็หดหายไปเพราะ มีสิ่งอื่นเข้ามาแทนที่บางอย่างควรแก่การอนุรักษ์เป็นมรดกทางสังคม
บิดามารดา ครูอาจารย์ ที่เกิดมารุ่นก่อนจะพยายามถ่ายทอดสิ่งที่ตนได้รู้ได้พบเห็นและ เรียนให้แก่ลูกหลานและศิษย์อันเป็นกฎของมนุษยชาติที่ผู้แก่กว่าจะให้มรดกแก่อนุชน ซึ่งเป็นการถ่ายทอด ทางวัฒนธรรมมาทุกยุคทุกสมัย
ในประเทศไทยเรานี้ วัฒนธรรมประเพณีได้แบ่งตามถิ่นภูมิประเทศของไทยแต่ละแห่ง แม้นวัฒนธรรมบางอย่างจะมีความเหมือนกันบ้างก็เหมือนเฉพาะโครงร่างเท่านั้น ส่วนเนื้อหาและแนว ทางปฏิบัติต่างก็ทำไปตามระบบความคิดของผู้ประจำถิ่นนั้น ๆ จะบัญญัติขึ้นมาให้คนในถิ่นยึดถือปฏิบัติกัน จนเป็นประเพณีไป ยกตัวอย่างเช่น การขับร้อง ทางภาคเหนือเรียกว่า ชอ หรือ จอย ทางอีสานว่า ลำ ทางภาคใต้ว่า โนรา ภาคกลางว่า ร้องเพลง หรือการขับร้อง ข้อนี้ปิดกันทั้งการเรียกชื่อและ ท่วงทำนอง ตลอดถึงภาษาในการขับร้องด้วย บางคนในภาคอื่นจะไม่รู้เลยเกี่ยวกับท่วงทำนองและ ลีลาด้วยแล้วยังมีปัญหาต่อการถ่ายทอดและเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ดังนั้น การจะเรียนรู้และเข้าใจเทลง ต่าง ๆ ที่เป็นของในบ้าน ผู้สนใจจะต้องศึกษาและค้นคว้าหาความรู้จากเพลงของถิ่นต่าง ๆ ให้มาก ที่สุด จะได้เป็นแนวเปรียบเทียบค่านิยมและสิ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางสังคม คือ จารีตประเพณีที่ ยึดถือในท้องถิ่นนั้นอีกโสตหนึ่งด้วย
การขับร้องเพลงของลานนาไทย ที่เรียกว่า ซอ นั้น คนภาคอื่น เช่นภาคกลางเป็นต้น มักจะเข้าใจผิดเป็นส่วนมากว่า ซอ คือเครื่องดนตรี เช่น ซอก ซอด้วง ซอสามสาย เหล่านี้ เป็น เครื่องดนตรี สุภาษิตคำพังเพยที่กล่าวว่า “อย่าสีซอให้ควายบัง” นั้น เป็นเครื่องปั้นบันให้ทราบถึง เครื่องอีกสีโดยแท้ แต่ในลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนสภาพวัฒนธรรมลานนาไทย พวกช่างชอ คือนักร้องที่ขับร้อง หรือขับขอ ยอโฉมพระลอนั้นมีว่า
ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง
ฤาเล่าพระลอเลือง ทั่วหล้า
โฉมบาบพิต เปลือง ใจโลก
สาวหนุ่มพังเป็นบ้า อยู่เพี้ยงโหยโหน
การที่รอค้าหรือช่างซอแมนสรวงไปขับร้องยอยศพระลอในเมืองสองนั้น ก็สะท้อนหัวอกแห่งพระเพื่อนพระแพง ให้เป็นไข้ใจให้นางอื่นนางโรยช่วยแก้ไขพี่เลี้ยงทั้งสองก็ใช้วิธีการหนามยอกเอาหนามบ่งเช่นกัน ดังคำพูลของ นางรินนางโรยว่า
“ข้าจะใช้ชาวในผู้สนิท ชิดชอบอัชฌาไสย ไม่ซื้อขายวายล่อง แล้วให้ท่องเที่ยวเดินสรรเสริญของโฉมศรีทั่วบุรีพระลอ ขับซอ ยอยศอ้าง ราลูกกษัตริย์เจ้าข้างชื่นแท้ ใครเป็น (ลิลิตพระลอ หน้า 9)
เท่าที่ข้าพเจ้ายกเอาโคลง 4 และรายในลิลิตพระลอมากลาวไว้ที่นี่เพื่อจะแสดงท่านทราบว่า ข้อความทั้งสองตอนเป็นเครื่องชี้ว่า การซอ เป็นการรับรองของล้านนาไทยมาแต่โบราณกาลแล้ว
อาณาจักรล้านนาไทย
เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงศิลปะการขอของลานนาไทย มีความเป็นมาและมีความเจริญรุ่ง เรื่องมาคู่กับประชาชนชาวล้านนาไทย คือภาคเหนือนั้น จะขอกล่าวถึงอาณาจักรลานนาไทยไว้บ้างดังนี้
อาณาจักรล้านนาไทยหรือปัจจุบันเรียกลานนาไทยนั้นเป็นอาณาจักรที่น้องกันกับล้านข้าง หรือ ศรีสัตนาคนหุต คือ ประเทศลาวปัจจุบันนี้
อาณาจักรล้านนาไทย สมัยโบราณนอกจากจะครอบคลุมเนื้อที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ศึก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน แล้วด้านตะวันตกยังครอบคลุม ไปถึงหัวเมืองมอญหลายเมืองในรัชสมัยพระเจ้ามังรายได้ทรงครอบครองอาณาจักรมอญอยู่ระยะหนึ่ง กษัตริย์ได้ถวายพระราชธิดาชื่อ ตละแม่ศรีปายโค มาเป็นบาทบริจาริกาด้วยส่วนทางทิศเหนือโดยแคว้นสิบสองจุไทยหัวพันทั้งห้าทั้งหก ไว้ในพระราชอำนาจซึ่งเรื่องนี้จะค้นคว้าอ่านได้จากพงศาว การ เชียงใหม่ หรือจากตำนาน 15 ราชวงศ์ ทางทิศตะวันออกติดกับฝั่งโขง ทิศใต้ติดกับอุตรดิตถ์ สุโขทัย ถ้าเป็นไปอย่างที่กล่าวนี้ อาณาจักรลานนาไทย มีอาณาเขตกว้างขวางมาก ในสมัยโน้นระหว่าง พ.ศ. 1700 – 2100 ปัจจุบันนี้ข้าพเจ้าได้สอบถามพระชาวไทยใหญ่มาพักอยู่ที่วัดต้นลุง อำเภอฝาง เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2523 ท่านบอกว่าปัจจุบันนี้เมืองแสนหวีลายข้า หลายเลี้ยว หรือลาเชียว เชียงตุง ยังใช้หนังสือลานนาไทยอยู่แม้นวรรณคดีชาดก เช่น ปัญญาสุธาตก เป็นต้น ก็ยังใช้เทศน์ หรือ ศอก กันกระทั่งทุกวันนี้
อาณาจักรลานนาไทยเริ่มตั้งโดยพระเจ้ามังรายมหารา หรือพอขนมังราย พ.ศ. 1801 – 1666 โดยตั้งเชียงใหม่เป็นราชธานีสืบแต่เชียงรายซึ่งเป็นนครที่ประทับดั้งเดิมของพระองค์ความจริงนั้นพระเจ้ามังรายเป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็งซึ่งเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ลาวจักราชคือพระองค์เป็นลำดับที่ 25 และเมื่อสำเร็จการศึกมาพร้อมกันกับพระร่วงรามคำแหงพระยางำเมือง จากฤาษี นครศรีสัชนาลัยกันแล้วกลับบ้านเมืองของตน แต่ละพระองค์ก็มีพระทัยมุ่งหมายจะสร้างบ้านเมืองของตนให้เป็นปึกแผ่นพระเจ้ามังรายได้ยกกองทัพเที่ยวปราบปรามบ้านเล็กเมืองน้อยไว้ในพระราชานาจ และพยายามทำศึกกับพระยายมา กษัตริย์มอญ ที่ครอบครองอาณาจักร หริภุญชัย จนสามารถขับไล่าพระบายบาสำเร็จ และจัดตั้งเวียงกุมกามนั้น ต้องที่อำเภอสารกในปัจจุบันนี้ แต่เมืองนั้นเป็นที่ยุบ ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกล่าสัตว์ ได้เห็นชัยภูมิเมืองร้าง คือเมืองสิ่ง ของละว้าโบราณ จึงได้บอแรงพระสหาย คือ พระยารามคำแหงและพระบางเมือง มาช่วยวางแปลน สร้างนครใหม่ เพื่อใช้เป็นราชธานี ระหว่าง 1.1. 1554 – 1835 ได้ขนานนามเมืองใหม่ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” และเป็นที่ประทับของกษัตริย์ลานนาไทยเกิดมทุกพระองค์
กษัตริย์ที่สืบสายจากพระเจ้ามังราย ที่ครอบครองอาณาจักรล้านนาไทยซึ่งมีเชียงใหม่เป็นราชธานีมีหลายพระองค์บางองค์ก็ย้ายไปประทับที่เชียงแสนบ้างเชียงรายบ้างดังปรากฏพระนามดังนี้
ราชวงศ์มังราย
1. พระยามังรายหรือมังฮาย พ.ศ. 1801 – 1860
2. พระยาไชยสงคราม พ.ศ. 1860 – 1870
3. พระเจ้าแสนภู พ.ศ. 1870 -1877
4. พระเจ้าคําฟู
5. พระเจ้าผายู พ.ศ. 1880 – 1910
6. พระเจ้ากือนา พ.ศ.1910 – 1931
7. พระเจ้าแสนเมืองมา พ.ศ.1931 – 1954
8. พระเจ้าสามฝั่งแกน พ.ศ.1954 – 1985
9. พระยาติโลกราช หรือพระเป็นเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1985 – 2050
10. พระเจ้ายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 – 2038
11. พระเมืองแก้ว หรือทระเจ้าดิลกปนัดดาราช พ.ศ. 2038 – 2068
12. พระเมืองเกษเกล้า พ.ศ. 2068 – 2081
13. พระเจ้าทรายคำ พ.ศ. 2081 – 2086
14. พระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. 2086 – 2091
15. พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ พ.ศ. 2094 – 2101
อาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งตั้งมาได้ยาวนานถึง 300 ปี ก็ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้า บุเรงนอง ที่แรกพระเจ้าบุเรงนองให้พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ยังครอบครองลานนาไทยอยู่ แต่เป็นประเทศราชของหงสาวดีแต่นัยว่าพระเจ้าเมกุฏิ ไม่ค่อยยินยอมได้ก่อการขึ้นจะกอบกู้อิสรภาท พระเจ้าบุเรงนองจึงกวาดต้อน พระราชวงศ์ทั้งหมดไปไว้ยังหงสาวดีและราชวงศ์มังรายก็เลยสิ้นสุดลงนับแต่นั้นมา
เพลงซอและความเป็นมาของซอ
เนื่องจากอาณาจักรล้านนาไทยตั้งมานานตั้ง 300 ปี การสะสมทางศิลปวัฒนธรรมย่อมมีมากทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางธรรมนี้ ลานนาไทยมีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้ง โลก ณ วัดมหาโพธารามเจ็ดยอด ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชหรือพระเจ้าศรีธรรมจักรวัติติโลกราชมหาธรรมิกราช เมื่อพุทธศักราช 2020 ทำให้เกิดตำหรับตำราสำคัญทางพุทธศาสนาที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราในปัจจุบันนี้และในทางทาสนาก็มีการขับร้อง คือมีทำนองเทศน์ ทำนองสวด เกิดขึ้น คำสวดนี้ ทางลานนาไทยเรียกว่าสูตร น่าจะมาจากการท่องบน พระสูตร หรือปกรณ์ต่าง ๆ ท่าน 4 เรียกว่า สูตร การเทศน์ และสวด ก็มีการเปลี่ยนแปลงมรดกสังคมส่วนนี้ด้วยเหมือนกัน
สำหรับทางโลกหรือทางชาวบ้านนั้นเราอาจจำแนกการขอออกเป็น 2 ประเภทคือ 2อเสียงมั่น และขอเสียงยาว ขอเสียงนั้นคือการรับรองท่านองรองกันในลานนาไทยแต่โบราณ ราย การขอเสียงยาวก็คือ การขับร้องที่มีเสียงเบื้อบมาก ๆ อย่าง คลงไทยเดิมของภาคกลาง แต่ทาง ลานนาเรียกว่า “จ๊อย” หรือ ร่ำลำนำ
การซอจะมีมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏชัด แต่ตามหลักฐานในลิลิตพระลอที่ยกมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าชอนี้เป็นการรับร้องประจำเผ่าไทยลาว ไหนเมืองหรือไทยยวนมาแต่เดิมแล้วโดยการประดิษฐ์ทำนองร้องเข้ากับท้องถิ่นของตนจึงมีทำนองเป็นชื่อของบ้านเมืองอยู่ด้วย เช่น ทำนอง ซอล่องน่าน ขอเชียงแสน ซอเชียงใหม่ ลมายจะปุ เป็นต้น ที่มีชื่ออย่างนี้เพราะชาวเมืองแต่ละแห่งร้องขอกันจึงมีชื่อตามบ้านเมืองของตน
ขอที่ปรากฏในครายมหาชาติของลานนาไทย เป็น กัณฑ์ มัทรี มหาราช และนครกัณฑ์ กวีได้พรรณนาไว้ดังนี้
เพื่อจักสิ่งสักการ นาวนองแก้วพี่
ทุกด้าวที่แจจน ฝูงหมู่นกซื้อมาม่วนเล่น
ชักเชือกเต้นหกกระโดง ฝูงหมู่คนโกง (นักเลงเหล้า)
จักหื้อตี๋พาทย์ฆ้อง เสียงตื่นต้องด้วยสะบัดชัย
สรในจักซื้อลั่น สนั่นด้วยเมงตรา
จากับด้วยเสียงขอและปี่ นันทุกที อือทือ
บางคนที่จักหื้อตบมือต่างแสง(ฉาบ) ที่จักแต่งเครื่องเป็นหลายประการ
(มัทรี ลานผูก ฉบับพระยาพื้นเหลา ของเก่า)
ในกัณฑ์มหาราช กวีได้กล่าวถึงการซอและเครื่องดนตรีไว้ดังนี้
ถัดนั้นฝูงคนช่างตีกลองน้อยและกลองใหญ่
ลูกตุบไล่สะบัดไชย ทั้งกลองใหญ่และแสงสว่า
ปี่ชั้นที่ข่าหอยสังข์ ตีกระดานระวังและทะร้อ
ทั้งปี่ห้อส่งเสียงดี ซื้อเขาดีดสีที่เป่า
มือนับเจ้าสงวนใจ เภรีใดดังทะท่วน
หน้าใดส่วนอยู่ตี คนฝูงช่างดนตรี
คนฝูงช่างตีพาทย์ฆ้อง วะวุ่นก้องเสียงดัง
บ่าวสาวฟังเสียงติ่ง เสียงวิดวิ่งเป็นระบำ
กลองคำแสนช่างหุ้ม ตีแต่คุ้นเราไปกลองหลวง
กลองหลวงใสแสงสว่าง เกาะฆ้องช่างโรยรน
คนฝูงช่างขับซอและช่างจ๊อย ยิงเต่าน้อยอื่อกะโลง
จุ่งไปยุยงหัวใจท่านท้าว โลมหน่องน้าวเอาลูกกูมา
(มหาชาติกัณฑ์มหาราช ลานผูก ฉบับเฒ่าลืมหลับ ของเก่า)
ตามหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีต่าง ๆ มีมหาชาติเป็นต้น จะเห็นได้ว่าซอเป็นการรับร้องประจำถิ่นชานลานนาไทยมาแต่โบราณกาล นับแต่การก่อตั้งอาณาจักรลานนาไทย พุทธศตวรรษที่ 18 ก็มีซอมาก่อนแล้ว
การซอและช่างซอ
ซอเป็นบทร้องที่นิยมกันมากในลานนาไทยเป็นลำนำเพลงที่นักร้องชายหญิงนิยมร้องกันมาแต่โบราณกาลแล้ว การรับรองของไทยทุกว่ามีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่นภาคเหนือ เรียกว่า ขอ ภาคกลางเรียก กาขับร้อง ภาคอีสานเรียกว่า หมอลำ และภาคใต้เรียก โนรา
การซอเกิดขึ้นเพราะเหตุหลายประการ เช่น
- สนองความต้องการของหนุ่มสาว
- สนองความทองการหางสังคม
- สนองความต้องการทางศาสนา
- สนองความต้องการของคนสมหวังและผิดหวัง
ข้อที่ว่า สนองความต้องการของหญิงสาวนั้น เป็นข้อที่น่าสังเกตมากเนื่องจากความต้องการเพศคู่ตามลักษณะของธรรมชาติให้ทั้งสองฝ่ายเกิดอารมณ์ให้กันและต้องการซึ่งกันและกันจึงมีคนคิดถึงคำซอขึ้นกล่าวพาดพิงถึงความรักและความปรารถนาให้ก็กฝ่ายหนึ่งเข้าใจเจตนารมณ์ของตนและซอบางบทคู่ซอชายหญิง มักจะกล่าวถึงการสมสู่ของชายหญิงด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยช่างซอชายหญิงทำหน้าที่อธิบายเป็นภาษาการขับร้องผสมผสานกับดนตรี คนฟังโดยมากเป็นหนุ่มสาวซึ่งยังไม่เข้าใจวิธีการทางกามศาสตร์จะได้รู้ไว้นับว่าคนโบราณของไทยได้มีวิธีสอนกเพศศึกษาอย่างฉลาด ไว้สนองความต้องการของชายหนุ่มหญิงสาว ที่ยังไม่รู้เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
สนองความต้องการทางสังคมในลานนาไทยสมัยโบราณการซอเป็นมหรสพอย่างหนึ่ง ช่วยในการเพิ่มความครึกครื้น สนุกสนานแก่งานปอยน้อยและปอยหลวง คนที่มาร่วมงานจะได้มาฟังกันเป็นการย่อนคลายอารมณ์และมีความสุขเนื่องจากได้ฟังซอในงานบวชหรืองานฉลอง ถ้าขาดซอ เจ้าภาพหรือประชาชนที่มาร่วมงานในถิ่นจะรู้สึกว่าขาดความม่วน คือ ความมั่วสนุกสนานไปมาก ถ้าหาก ต้องการสังคมยอมรับนับถือ เจ้าภาพจะต้องหาช่างซอที่มีชื่อเสียง ซอเก่งมาซอ สำหรับดึงดูดคน เหมือนภาคกลาง หาลิเก ลำตัด ภาคใต้ หาโนรา และอีสานหาหมอลำนั้นเหมือนกันในลานนาไทยเองเวลานี้
ซอยังมีความหมายสำหรับประชาชนในชนบทอยู่มาก งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ยังนิยมหาซออยู่ แสดงถึงสังคมไทยภาคเหนือยังต้องการ ซอ การขับร้องประจำถิ่นเหมือนแต่ก่อนมา
สนองความต้องการทางศาสนา การซอไม่เกี่ยวพันกับศาสนาโดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องอย่างมากในทางอ้อมกล่าวคือ การซอคำสอนจริยธรรมต่าง ๆ ก็ดี การซอเรื่องชาดกทางพุทธศาสนาก็ดีล้วนแต่ช่วยส่งเสริมศาสนาทางอ้อมทั้งนั้น อีกประการหนึ่งในปัจจุบันการแต่งดา ปอยบวช ปอยเป็กข์ นิยมเอาไปทำที่วัด ชาวบ้านจะพากันไปแปงผาม คือ ทำปรำซอไว้ชิดกับกำแพงด้านนอก ประชาชนที่ไปรวมงานบวชก็มุ่งไปที่วัด และได้ฟังซอกันเป็นที่ครึกครื้นยินดี การขับซอนี้ ช่างซอจะต้องมีความรู้ในทางศาสนาเป็นอย่างดีด้วย จึงจะสามารถถ่ายทอดคำสอนทางศาสนาไปสู่ประชาชนได้
สนองความสมหวังและผิดหวัง ในกรณีการซอมีวรรณกรรมที่แต่งขึ้นด้วยความสมหวังและควาผิดหวังของกวีหรือคนอื่น ซึ่งกวีนำมาแต่งขึ้น พวกช่างซอจะนำเรื่องราวเหล่านั้นมาซอ หรือจ๊อยให้ประชาชนฟังเหมือนการฟังนิยายหรือบทละคร ซึ่งบางแห่งกวีจะสอนแทรกคติธรรมทางศาสนาไว้เปรียบเทียบเหตุการณ์ในชีวิตของตัวละคร ซึ่งชาวบ้านต่างก็ถือเอาเป็นแบบอย่าง คติชีวิตของคนโดยส่วนรวม หางออกของชีวิตในการแก้ปัญหารองคนไทยโบราณไม่ว่าอยู่ภาคใด จะถือตามคตินิยมทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่และเชื่อกรรมว่า มีผลต่อชีวิตของตน ซึ่งเป็นกฎแก้ปัญหาชีวิตได้ดีประการหนึ่ง
ผู้ขับร้อง เพลงของลานนาไทยเรียกกันทั่วไปตั้งแต่โบราณกาลมาว่า “ช่างซอ” “ช่างจ๊อย” ค่าว่าช่าง คือคนทำเป็นหรือผู้มีความชำนาญในทางใดทางหนึ่ง ซอ คือการขับร้อง ถ้าคำ 2 คำนี้มารวมกันจะมีความหมายว่าผู้ขับร้องเป็นหรือนักร้องหรือผู้ชำนาญในการขับร้อง ส่วน “ช่างจ๊อย” คือ ผู้ขับร้องเพลงทอดเสียงยาว หรือผู้ร้องห่วงทำนองเสียงยาว
ช่างซอมีทั้งชายและหญิงรวมเรียกว่า “ช่างซอ” เหมือนกันคู่ซอชายหญิง ที่ร่วมวงซอด้วยกันเรียกว่า “คู่ถ้อง” คำว่า “ถ้อง” หมายถึงการโต้ตอบเหมือนตอบถ้อยคำกัน เพราะซอผลัดกันว่าคนละที่ เช่นฝ่ายหนึ่งถามฝ่ายหนึ่งตอบหรือฝ่ายหนึ่งพูดฝ่ายหนึ่งเสริม เป็นต้น
ทำนองซอ
ซอในภาคเหนือมีชื่อเรียก ต่ำนองบ้าง ระบำบ้างแต่ที่นิยมใช้มากคือ ต่ำนอง หรือ ทำนอง โดยมาก ซอที่บัญญัติขึ้นโดยช่างซอเมืองใดก็จะเรียกชื่อตามเมืองนั้นก็มีเรียกเป็นชื่อเฉพาะโดย อาศัยกำหนดลีลาเสียงก็มีทํานองซอ มีดังนี้
- ขึ้นเชียงใหม่
- ละม้ายเชียงแสน
- ละม้ายจะปุ
- เพลงอื่อ
- เพลงเงี้ยว
- เพลงพม่า
- พระลอเดินดงหรือล่องน่าน
- ปั่นฝ้าย
- เพลงอื่อลูก
- ซอยิ้น
- คำโคลง
- คำฮ่ำ
ทำนองขึ้นเชียงใหม่ เป็นบทซอไหว้ครู ปรารภเหตุการณ์ของงาน กล่าวถึงเจ้าภาพและเหตุผลในการจัดงาน เป็นทำนองซอที่ชาวเชียงใหม่ประดิษฐ์ขึ้น และร้องกันแพร่หลาย และร้องกันแพร่หลาย จนกลายเป็นทำนองซอประจำถิ่นมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้
ละม้ายเชียงแสน บางแห่งว่า จ๊อยเจียงแสน ซอนี้เป็นทำนองที่ชาวเชียงแสนสมัยโบราณประยุกต์มาจากทำนอง กะโลง หรือทำนองโคลง ของล้านนาไทย เป็นทำนองซอที่มีความอ่อนหวานไพเราะ ปัจจุบันใช้เป็นซอชุมทาง กล่าวคือ ช่างซอจะเปลี่ยนทำนองซอจากทำนองหนึ่งไปซออีกทำนองหนึ่งต้องซอจ๊อยเชียงแสนทุกครั้ง เหมือนชุมทางรถไฟภาชี หรือชุมทางบางซื่อ เป็นต้น
ละม้ายจะปุ เป็นทำนองซอที่คนไทยชาวจะปุ คือคนไทยในแคว้นสิบสองปันนาอพยพเข้ามาอยู่ในลานนาไทย ที่มาจากเมือง จะปุ การขับร้องของคนพวกนี้มีเสียงอ่อนหวานแอบอิงกับธรรมชาติช่างซอลานนาจึงทำเอาทำนองมาดัดแปลงให้เข้ากับการซอของตน และให้ชื่อทำนองนี้ตามชื่อของเจ้าเพลงว่า “ทำนองจะปุ” เป็นซอที่นิยมต่อจากทำนองตั้งเชียงใหม่ลงมาทุกครั้ง คือพอขึ้นเชียงใหม่แล้วไปละม้ายจะปุ จากนนั้นมาหาละม้ายเชียงแสน
เพลงอื่อ เป็นทำนองไพเราะอย่างหนึ่ง มีเสียง อื่อ อื่อ อือ ต่อท้ายท แบบฮัมเพลงตอนที่ไม่มีดนตรีประกอบ แต่ถ้าตอนใดมีเสียงดนตรี เสียงอือ อื่อ อือ ต่อท้ายก็ไม่ต้องมี ซอเพลงอื่อมักใช้ซอพวกคำสอนหรือนิยาย นิทาน เช่น ซอฮ่ำเต่าน้อยอองคำ ดาววีไก่หน้อย (ดาวลุกไก่) เป็นต้น
เพลงเงี้ยว ทำนองของไทยใหญ่ เนื่องจากภาคเหนือของไทยติดต่อกับรัฐฉาน จึงรับเอาวัฒนธรรมทางศิลปะบางอย่างเข้ามา เช่น การฟ้อนรำ การซอ และให้เกียรติ์แก่เจ้าของทำนองเพลงว่า เพลงเงี้ยว นิยมซอลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซอปัดเคราะห์ มัดมือลูกแก้ว ซอมัดมือขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
เพลงพม่า หรือทำนองพม่า ลานนาไทยได้มาจากชาวพม่า ที่เข้ามาปกครองในสมัยบุเรงนอง เป็นทำนองเพลงของตน แต่เนื้อร้องเป็นของลานนาไทยทั้งหมด
เพลงพระลอเดินดง ทำนองซอแปลงมากจากคำโคลงโบราณในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์และพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ให้ท้าวสุนทร พจนกิจ ( ใหม่บุญมา) ประพันธ์บทละครเรื่อง “ไชยาแว่นแก้ว” และเรื่องพระลอตอนปู่เจ้าสมิงพรายมาทำเป็นไก่หลอกล่อพระลอให้ตามไประหว่างทางก็ชมนกชมไม้ ชมความวามของธรรมชาติไปด้วย อย่างไพเราะและสนุกสนานยิ่งถ้าคนในถิ่นนี้รู้ภาษาถิ่นลึกซึ้งจะเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้นไปอีก
ปั่นฝ้าย เป็นทำนองเพลงของชาวเมืองน่าน นิยมร้องกันเป็นละครซอโดยช่างซอชายหญิง สมมุติเป็นคู่ผัวเมีย ออกไปปลูกฝ้าย สำหรับเอามาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มนับแต่ออกฟันไร่ล้มป่าจัดเตรียมสถานที่ปลูกฝ้าย การปลูกฝ้ายด้วยความเหนื่อยยาก ไปจนถึงการเก็บฝ้ายและหีบฝ้าย ปั่นฝ้ายและทำการทอ เป็นไปอย่างละเอียดยิ่ง มีดังนี้
ก่อนและตั้นยังเมื่อหัวที อั้นพ่อบ่าศรีได้เมียสาวใหม่
ได้กั๋นมาหลายวี่หลายวัน พอมีลูกตวนกั๋นพอเป็นสาวแถ่ว
บ่ได้ไปแอ่วละเล่นที่ไหน มาเป็นทุกข์ใจชาวนาชาวไฮ่
ช่างเอาใจใส่ตามแบบโบราณ เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานแบบโบราณบ่าเก่า
พ่อแม่เป็นเจ้าได้สั่งสอนมา เยียะไฮ่เยียะนาแบบมาแต่ก่อน
ก็ได้จุ๊ล่ะอ่อนตัวน้อยผายคำ เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานมานานเสี้ยงอย่าง
วันนี้วันค่ำจะจวนเอาเมีย บ่ล้ำบ่เหลือฟันไฮ่เหียก่อน
หื้อแม่ละอ่อนรีบตกแต่งดา ทั้งเข้าทั้งปลามูลีสุบหมาก
ของกินของย้ำตกดาใส่ถง พ่ออีชมจะเข้าดงเข้าป่า
เพลงกล่อมลูก หรือเพลงอื่อเด็ก ล้านนาไทยเรียกว่า อื่อลูก มีทำนองร้องเป็น 3 ทำนอง คือ
- ทำนองอื่อ
- ทำนองกาพย์
- ทำนองเพลงพม่า เพลงอื่อหรือ
- ทำนองเสนาะอื่นๆ
ซอยิ้น เป็นซอที่มีขึ้นประมาณ 50 ปีมานี้ (จาก พ.ศ. 2523) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาศมณฑลภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ให้ท้าวสุนทร พจณกิจ กวีประจำคุ้มเชียงใหม่แต่งขึ้นสำหรับซอเป็นการรับเสด็จและสรรเสริญพระเกียรติ์พระปกเกล้า ฯ ทำนองแปลกไปจากทำนองทั้งหลาย มีจังหวะทำนองไพเราะและเป็นระเบียบยิ่ง เหมาะสมกับ ยอพระเกียรติ์ และซอบทนี้ข้าพเจ้ายังได้ดัดแปลงเป็นซอ รับเสด็จยอพระเกียรติ์ ควินอลิซาเบท ที่ 2 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชาธิบดี มาเลเซียด้วย ในคราวเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ ทำนองและเนื่องร้องดังนี้
สาน้อมเกล้า ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลฉลอง
บทรัชพระยุคลทอง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
บรมนาถ พระปรเกศเกล้า ฯ
ทังพระแม่เจ้าธรณี
ทรงบุญฤทธิ์ เป็นที่ยินดี
แก่ประชาชี
จังหวัดเชียงใหม่ ไพร่ฟ้าข้าเจ้า
ทังหนุ่มทังเผ่า ทั่วทิศทังผอง
ได้พิงเพิ่งพะ พระร่งโพธิ์ทอง
เป็นฉัตรเรืองรอง ปกบังกั้งเกศ
ฯลฯ
คำโคลง เป็นทำนองเพลง บางท้องที่เรียก จ๊อยกะโลงบ้าง อื่อกะโลงบ้าง การขับร้อง เป็นการขับร้องเดี่ยวประสานเสียงกับเพียะ และซึง
คำฮ่ำ คือคำร่ำหรือรำพัน ได้แก่การพรรณนาเหตุการณ์ต่างๆ ที่ตนพบเห็น เช่นฮ่ำบอกไฟ ฮ่ำครูบา ฮ่ำสุขาภิบาล กวีมักจะเป็นคำคร่าวบ้าง คำร่ายบ้าง
ทำนองซอที่นิยมในถิ่นของตนเองแบบเบ็ตเตล็ด ไม่ค่อยนิยมแพร่หลาย สมควรจะรู้ไว้บ้างก็มีอยู่หลายทำนองเหมือนกันเช่น
ซอก้อม คือซอแบบสั้นๆ นิยมซอเดียวเล่นๆ เช่น
ปี้ว่าก็จับ น้องว่าก็ถูก
ความบ่มีลูก เขาว่าควายแม่มาน
หมูนมยาน เขาว่าหมู่แม่ด้อง
ความบ่าตาย เอามาปากตังท้อง
มันก็ฮ้อง เต็มบ้านเต็มเมือง
ซอบ่ารู้จบ คือซอจากปลายมาชนต้น เพราะสระเดียวกัน ซอกลับไปกลับมาไม่รู้จบสิ้น เช่น
อี่น้องบัวคำเอาหยังมากิ๋น
เอาฮากปูดินกับผักบังแป้
อี่น้องบัวคำจะเอาหยังมาแก้
เอาผักปังแป้กับฮากปูดิน
ซอก๊บเกิ่ง หรือซอต๋บเกิ่ง ได้แก่ ซอเอาสถานที่แห่งกนึ่งไปประกบกับทางหนึ่ง เป็นพวกตลกขบขัน เช่น
ม้าผู้ขาว ใส่ฮอกกิ้งๆ
ขี่ล่องน้ำปิง ผดแผวเมืองพร้าว
(นั่งม้าตัวผู้สีขาวแขวนกระดิ่ง เลียบน้ำปิงไปทะลุอำเภอพร้าว )
ซอลายสอง คือซอที่ฟังทำนองเสียงกระโดด เช่น
แก๋งหยวกใส่จิ๊นไก่ เอาหอมป้อมเข้าใส่
หยุบกินจิ้นไก่ โวยไผโวยมัน
(แกงหยวกกล้วยใส่เนื้อไก่โรยหอมและผักชี หยิบกินไก่ที่ใครทีมัน)
ซอลายอำ คือเนื้อความในซอสสลับกันเหมือนลายจักรสาน ลานนา เรียกกลายอำ ดังเนื้อความดังนี้
อกปู่โธ มะโอเมืองฝาง ถนนเชียงใหม่ ปลาแห้งเชียงฮาย
เขียดหน้อยหน้อย มายองขี้ไถ่
แอ้ขะแม้ฮ้องซ้าว น้ำตาก็ไหลตึงวันอาบย้อย
ซอกับล้อ คือซอให้เข้าจังหวะกับการเคลื่อนของเกวียน เช่น
กลอนกาพย์ไก๊ ดอกไม้เป็นจี
ไปก่อนอีดี ตวยก้นอี่แว่น
คำฟู่ก่อหนาคำจาก็แน่น ไปก่อนอีแว่นตวยก้นอีดี
ซอว้อง คือมีลักษณะเหมือนลายอำ แต่ต่างทำนองกัน ซอว้อง ให้ทำนองเพลงพม่า ดังนี้
หมอบหมอบ คลานคลาน หันต่าฟานกับเก้ง
ยกปืนขึ้นเลง หันก้าเก้ากับฟาน
ปี้เมาหานาย เมื่อก๋าควายขี่จ้อง
พี่เมาฮักน้อง เมื่อก๋างจ้องขี่ควาย
การจ๊อย ได้กล่าวมาแล้วในตอนแรก ๆ ว่า การจ๊อย คือการขับร้องเดี่ยว คนร้องจะต้องใช้เสียงทอดยาวออกไป ทำนองจ๊อยเท่าที่ค้นพบมี 3 ทำนอง คือ
- โก่งเฮียวบง
- ม้าย้ำไฟ
- วิงวอน
การสืบทอดเพลงซอ
ตั้งแต่สมัยโบราณมา การสืบทอดเพลงซอ ได้ทำกันแบบมุขปาฐะ คือ สืบจากพ่อครู แม่ครูไปหาลูกศิษย์ สอนให้จำเป็นคำๆ ไปอาศัยความจำ , ความชำนาญ และความสามารถในการว่าคำกลอน ในสมัยโบราณคนจะเป็นช่างซอ ต้องเก่งหลายทาง เช่น
- เสียงดี
- ความรู้ดีทางจารีตประเพณี
- เก่งทางฉันทลักษณ์ ร่ายหรือกลอน
- ต้องใช้ความจำมาก
- ต้องมีปฏิภาณ แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้
สมัยปัจจุบัน ช่างซอชายหญิงมีมากกว่าสมัยโบราณ การสืบทอดมีวิธีการดังนี้
- เสียงดี
- มีความรู้ทางหนังสือดี
- นำภาษาใหม่เก่าประยุกต์เข้ากัน
- ใช้ความจำมาก
- มีปฏิภาณแก้ไขเหตุการณ์ เฉพาะหน้าได้
ความดีและเสียในการสืบทอดเพลงพื้นบ้านของไทยทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือมีข้อที่ควรสังเกตดังนี้ “การถ่ายทอดของช่างขอโบราณ มีผลดีในด้านการรักษาภาษาดั้งเดิมตลอดถึงทำนองไว้แบบ สืบทอดมโดยตรง ไม่ค่อยมีเปลี่ยนแปลง เนื้อหาและทำนองมีอย่างใดก็มีอยู่อย่างนั้น ผลเสียคือ ถ้าครู ผู้ถ่ายทอดมีความรู้จำกัด การถ่ายทอดเพลงบางเพลงก็ต้องขาดหายไป แม้นดนตรีก็เหมือนกัน ถ้าครู เล่นไม่ได้ ก็ไม่สามารถต่อให้ลูกศิษย์ของตนเอง ทำให้เนื้อเพลงขาดตอนลง และสูญหายไปในที่สุด (1)
ส่วนช่างขอในสมัยใหม่การสืบทอดง่ายขึ้นเพราะมีความรู้ทางหนังสือทำให้การเรียนขอสะดวกกว่าสมัยโบราณผลเสียจากการสืบทอด คือ การใช้หนังสือไทยกลางเขียนภาษาพื้นเมืองไม่ถูก ต้องกับเสียงจริง ๆ มีลักษณะผิดเพี้ยนไปมากทำให้ภาษาชอปัจจุบันเป็นคำพูดภาคกลางสมัยใหม่ไปมาก ยากแก่การจะรักษาภาษาถิ่นไว้วัฒนธรรมทางภาษาเกิดความสับสนและไม่สามารถรักษาภาษาและความ หมายดั้งเดิมได้อีกประการหนึ่ง ทำให้ทำนองเพลงไม่เอื้อกับเสียงดนตรีได้ เพราะการเอาภาษาไทยกลางมาใช้ในวรรณคดีบางเรื่อง ทำให้เนื้อความผิดมากภาษาที่พูดกันในปัจจุบันเป็นคำใหม่และเป็นภาษาไทยกลางไปหมดมีแต่สำเนียงเท่านั้นเป็นสัญลักษณ์อยู่ในปัจจุบัน
ดนตรีสำหรับประกอบซอ
เครื่องดนตรีประกอบซอการจ๊อย ของลานนาไทย มีความแตกต่างกันไปตาถิ่นจังหวัดต่าง ๆในภาคเหนือ ซึ่งนิยมใช้เครื่องดนตรีต่างกัน ดนตรีที่ใช้กับเพลงซอ มีดังนี้
- ปี่
- ซึง
- ซะช้อ ทะร้อ หรือ ซอล้อ
- เปี๊ยะ
- ขลุ่ย
ปี่ชุม 3 ชุม 4 ชุม 5 คำว่าชุมก็คือชุมนุม หรือรวกพวกที่ว่าปี่ชุม 3 หมายถึง
- ปี่แม่ ใช้คุมเสียง
- ปี่กลาง ยืนเสียง
- ปี่ก้อยใช้ตัดเสียง
ปี่ชุม 4 ประกอบด้วย
- ปี่แม่
- ปี่กลาง
- ปี่ก้อย
- ปี่ตัด
ปี่ชุม 5 ประกอบด้วย
- ปี่แม่
- ปี่กลาง
- ปี่ก้อย
- ปี่ตัด
- สะล้อ
จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา นิยมใช้ที่ประกอบการขอทั้ง 3 ชุด คือ ปี่จุม 3 ปี่ชุม 4 และ บี่ชุม 5 จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน นิยมใช้ซึง 3 ตัวคือ
- ซึงหลวง
- ซึงกลาง
- ซึงเล็ก
ส่วนดนตรีประกอบการจ๊อย สมัยโบราณมานิยมใช้เปียะซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโบราณของงานมาไล่ระดับเสียงกับ อก ปัจจุบันนี้นิยมใช้ ซึ่งและสะล้อ แทนเปี๊ยะ ซึ่งเสื่อมความนิยมไป
ปัญหาการสืบทอดดนตรีประกอบเพลงซอ
การขับซอจะไพเราะอย่างสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยดนตรีช่วยประสานและช่วยให้จังหวะลีลาไปอย่างถูกต้องทุกยุคทุกสมัยแต่โบราณมาดนตรีพื้นเมืองของไทยอยู่ในความนิยมของคนในถิ่น “ แต่ดนตรีไม่เป็นมาตรฐาน” ไม่ว่าจะเป็นซึ่ง สะล้อ แคน ไม่มีการเทียบระบบเข้ามาตรฐานอย่าง ซอด้วง ซออ็ ของภาคกลาง จึงไม่สามารถจะถ่ายทอดเพลงตามโน้ตได้มีแต่จดจำกัน ถ้าเพลงใดอาจารย์หรือครูผู้สอนไม่มีความรู้ในเพลงใดเพลงหนึ่งหรือจำโน้ตไม่ได้ ก็ไม่สามารถสั่งสอนลูกศิษย์ ทำให้ความรู้ทางดนตรีขาดตอนลงสรุปได้ว่า
- ระบบเสียงดนตรี เช่น ปี่ ซึงไม่แน่นอน เพราะต่างคนต่างทำ
- การเล่นดนตรีไม่มีวงแน่นอนผสมแบบเป็นทาง
- ชั้นของเพลงในดนตรีมีนิดเดียว ไม่มีการขับร้อง เช่น เพลงประสาทไหวการขับร้องมีขึ้นภายหลัง เพื่อสนองการฟ้อนรำ
- ระบบการฝึกสอนฝึกกันเองไม่มีแบบแผนถ้าโรงเรียนในสอนตามโน้ตจะไม่ไพเราะเพราะการพลิ้วของเสียงกับโน้ตต่างกัน
- การละเล่นซอเมืองคนฟังสมัยใหม่ไม่เข้าใจเพราะใช้ภาษาเก่าฟังแล้วเบื่อควรจะให้เด็กร้องภาษาง่าย ๆ
- ควรมีละครซอขึ้นเพื่อคนดูคนฟังจะได้เข้าใจชัดเจนขึ้น
- ปี่ซอความเห็นของอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ไม่ถูกควรจะเป็นปี่ชุมเพราะเขาต้องเป่าพร้อมกัน
การสืบทอดขอและดนตรีสมัยปัจจุบันนั้นภาษาซอเปลี่ยนไปจากเดิมมากคนสมัยใหม่ไม่รู้ความหมายในเนื้อเพลงเก่าจึงว่าผิด ๆ ทำให้เสียอรรถรสทางการขับร้องคือไม่เป็นไปตามท่วงทำนองที่วางไว้เดิม เช่น การขอเข้าประชุมปัจจุบันนี้การขอมักจะเอาดนตรีตะวันตกเข้ามาร่วม เช่น การขับร้องของ จรัญ มโนเพชร ใช้กีตาร์ แหน ถ้าคนเก่า ๆ ซึ่งเคยฟังซอเรื่องน้อยใจยาจะรู้สึกว่าไม่ไพเราะเลยทั้งการบรรเลงดนตรีและภาษาการขับร้องทางเหนือว่า “ไม่ตาย” คือไม่ชัดเจนตามลักษณะภาษาล้านนาโบราณฟังแล้วประดุเรารับประทานขนมบังปอนกับแกงเผ็ดซึ่งไม่ค่อยเข้ากัน
ในกรณีที่นักร้องสมัยใหม่ทำนองซอของโบราณมาแต่งเนื้อใหม่ เช่น ทำนองพื้นเมือง แต่ใช้ภาษาไทยกลางร้องก็ขาดสุนทรียะลงไปมากแต่อาจจะดีในด้านการดึงเอาดนตรีและการขับร้องเข้าผสมผสานกันทำให้เกิดความเข้าใจที่ต่อกันได้เราอาจจะได้เอกลักษณ์ใหม่แทนของเก่าซึ่งนับวันจะเลือนหายไป
ความนิยมชมชอบของชาวบ้าน
ซอยังอยู่ในความนิยมของชาวชนบทอยู่ ถ้าคิดเป็นเปอร์เซนต์จะมีอยู่ราว 70% ส่วน 30 % นั้น เป็นพวกเด็ก ๆ สมัยใหม่ที่นิยมชมชอบเทลงไทยสากลและเทลงต่างประเทศเพลงซอสำหรับประชาชนที่อยู่ในเมืองไม่นิยมเลยจะมีประมาณ 10% เท่านั้นทั้งนี้เพราะคนในเมืองได้รับการศึกษาสมัยใหม่เรียนหนังสือแลภาษาไทยกลางเป็นพื้นทำให้ภาษาถิ่นของตนก็ดี ดนตรีของตนก็ดี และประเพณีวัฒนธรรม ในการชอและศิลปะอื่นถูกลืมไปคนในเมืองสมัยใหม่ถ้าหากวิทยุหรือโทรทัศน์ เปิดรายการเพลงขอ จะปิด วิทยุหรือโทรทัศน์ทันที ข้าพเจ้าเคยถามว่าปิดทำไม เขาบอกว่า ล้าสมัย ฟังไม่เข้าใจและบางที่ก็บอกว่าช่างซอพูดคำหยาบไม่มีจรรยาและไม่สุภาพ การซอในชนบทจะมีในงานบวชนาคเป็นพื้นภาษาที่ซอเป็น ภาษาถิ่นปนภาษาไทยภาคกลางซึ่งหนุ่มสาวสมัยนี้พอทำความเข้าใจได้เพราะใกล้เคียงกับภาษาพูดในปัจจุบัน
ในสายตาของนักวิชาการสมัยใหม่พวกที่ชอบซอก็มีพวกนิยมทางศิลป เช่น อาจารย์ภาษา ไทย พวกเรียนทางสังคมวิทยาพวกที่เกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมประเพณีมีความนิยมชมชอบและเห็นว่าของเพลงซอ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เมืองไทยให้ความสนใจวัฒนธรรมพื้นบ้านได้มีการตื่นตัวในวงการนักวิชาการและนิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะนักศึกษาปริญญาโท นิยมชมชอบทางซอพื้นเมืองได้ทำการ หลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลานนาไทยก็มีหลายเรื่อง แสดงถึงคือศิลปวัฒนธรรมส่วนนี้ได้รับการอุ้มชูให้ดีขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และส่งเสริมทางศิลปวัฒนธรรม
ปัญหาเพลงพื้นบ้านจะตั้งอยู่ไม่ได้เพราะเสื่อมความนิยมลงเอง
ข้าพเจ้าได้พยายามคิดถึงปัญหาเพลงพื้นบ้านที่จะตั้งอยู่ไม่ได้หรือเสื่อมความนิยม เหตุหลายประการ ซึ่งของประมวลมากล่าวเป็นข้อ ๆ ดังนี้
- การไม่ส่งเสริมให้เรียนหนังสือลานนาไทย บันทึกสิ่งที่สำคัญทางศิลปวัฒนธรรมไว้นับล้านผูกแต่ทางราชการไม่ส่งเสริมให้เรียนหนังสือสำหรับเป็นกุญแจเปิดเอาความรู้จากคัมภีร์เหล่านั้นทำให้รากฐานทางภาษาทรุดลงในด้านความทรงจำ และความนิยมในหมู่คนปัจจุบันมีสอนกุลบุตรภายในวัดเท่านั้น และสมัยนี้คนที่จะเข้าบวชเรียนในวัดมีน้อยเรียนหนังสือลานนาไทยน้อยลง, เมื่อขาดการเรียนหลักฐานทางภาษาให้ดีคนสมัยใหม่ไม่ได้เรียนลานนา จะฟังการขับร้องเพลงซอซึ่งเป็นภาษาทางวรรณคดี สูงส่งและไพเราะไม่เข้าใจจึงเกิด เบื่อหน่ายและหอคทิ้งเพลงขอประจำถิ่นไปอย่างน่าเสียดาย
- การส่งเสริมให้ร้องแต่เพลงภาคกลางและเพลงต่างประเทศข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญมาก ทางการไม่เห็นความสำคัญของเพลงซอประจำถิ่นส่งเสริมให้ร้องแต่เพลงส่วนกลางมันอาจดีในด้านการรวมกลุ่ม แต่ก็ได้ทำลายศิลปวัฒนธรรมเดิมเสียหมดหรือจะเหลือก็น้อยเต็มที่ทำให้คนไทยไม่ค่อยรักถิ่นทั้งนี้ เพราะภาษาวัฒนธรรมได้ถูกทำลายไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
- การขาดอนุรักษ์และส่งเสริมข้อนี้คนไทยทั่วประเทศไม่ค่อยรักและหวงแหนศิลปวัฒนธรรมของคน จะเห็นได้จากการขายใบลานจารึกของโบราณขายเครื่องดนตรีและของเก่าที่มีคุณค่าศิลปะ เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น ทำให้ชาติที่เราขาดสิ่งที่มีค่าลงไปมากของเก่าและมีค่าตามวัดวาอาราม ถูกขโมย ถูกปล้น ฆ่าพระสงฆ์ บางรายก็ไปเอาชาวต่างประเทศมาซื้อหาไปโดยเป็นตัวแทนเราออกซื้อหา สิ่งเหล่านี้เป็นการทำลายชาติ บ้านเมืองก็ขาดการเอาใจใส่จากรัฐบาลเรื่องการสร้างศูนย์ศิลปะประจำภาคต่าง ๆ ข้าพเจ้าไปดูงานทางวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นและเกาหลี รัฐบาลเขาให้ความสนใจในการอนุรักษ์มาก ทั้งส่งเสริมให้นักวิชาการที่ขมชอบด้านนี้มารวมกันคิดทำในสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่ชาติ เช่น พิพิธภัณฑ์ ทางมานุษยวิทยาที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่นหมู่บ้านวัฒนธรรมที่เซวอน ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าหากรัฐบาลเราให้เงินงบประมาณแต่ละภาคสร้างศูนย์ศิลปวัฒนธรรมศูนย์ละ 50 ล้านบาท รวบรวมเอาผู้สนใจและสิ่งมีค่ามาไว้ในศูนย์จะทำให้เมืองไทยเรามีค่าขึ้น ทางศิลปวัฒนธรรมอีกเป็นอันมากเพราะเรามีของดีมากมายแต่เราอวดไม่ได้ เพราะขาดผู้สนับสนุน
- ไม่ศึกษาค่านิยมหรือคิดด้านหาประโยชน์ความจริงข้อนี้บทเพลงบางบทในห้องใน ต่าง ๆ ไม่มีคนศึกษาหาค่านิยมของมันว่าเป็นอย่างไร ทำให้ไม่เห็นประโยชน์และไม่อยากรักษาทั้งนี้เราจะต้องศึกษาด้านภาษา ด้านฉันทลักษณ์ด้านวัฒนธรรมควบคู่กันไปด้วยจึงจะรู้ความจริงสิ่งที่ใจอยู่บ้างเวลานี้ก็คือการศึกษาค้นกว่าทำวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทจากหลายมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถรู้จักประโยชน์และค่านิยมเพิ่มขึ้นอีกมาก
- ความจำเป็นทางเศรษฐกิจคนไทยในสนัยปัจจุบันขายกินของเก่าที่บรรพบุรุษสะสมไว้ขายทุกอย่าง ภาพจิตรกรรมฝาผนังเอกสารโบราณเครื่องดนตรีโบราณ เครื่องปั่นฝ้าย ทอหูก สารพัด เพราะอะไรหรือ ?
– ความยากจน
– ความใม่รู้ค่า
– ความไม่ได้รับการส่งเสริมให้รักศิลปวัฒนธรรม
ข้าพเจ้าเคยได้คัมภีร์เล่นแร่แปรธาตุซึ่งลูกศิษย์ไปถ่ายเอกสารของจริงให้จากของฝรั่งชาวสแกนดิเนเวีย มาขอให้แก่แปล แกเลยแอบไปถ่ายเอกสารมาให้ฝรั่งไปซื้อจากอำเภอเชียงคำจารึกด้วยปั๊บหนังสา เป็นราคา 6,000 บาท ปัจจุบันต้นฉบับไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของชาติตะวันตกไปแล้วความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ทำให้คนเราต้องขายทุกอย่างแม้กระทั่งของที่ตนรักและหวงแหน - สังคมไทยมุ่งความเจริญทางวัตถุมากกว่าทางจิตใจ ในสมัยปัจจุบัน เพลงซอหรือเพลงพื้นบ้านของไทยจะวิวัฒนาการไปแบบสนองความต้องการทางวัตถุมากกว่าสนองความต้องการทางจิตใจ เพลงซอ หรือเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ เวลานี้ไม่มีการพรรณนาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นักร้อง ช่างซอ จะเอาตัวหนีจากธรรมชาติในท้องทุ่ง ป่าเขาลำเนาไม้เขาผจญกับแสงสีอันว้าวุ่นของสังคมชาวเมืองซึ่ง “ไม่ค่อยมีการเสียสละและเห็นอกเห็นใจกัน
การสืบทอดเพลงพื้นบ้านในฐานะที่เป็นมรดกทางสังคม
เพลงพื้นบ้านไม่ว่าจะเป็นเพลงของภาคกลางซอของภาคเหนือหมอลำของอีสานและโนราของภาคใต้ ล้วนแต่ผ่านการสืบทอดทั้งมุขปาฐะและทางวรรณกรรมลายลักษณ์มาแต่โบราณกาลแล้วมรดกทางสังคมจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาสู่อนุชนได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัญหาต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงทางภาษาและเนื้อหาของเพลง
- การเปลี่ยนแปลงทางเครื่องดนตรี
- การปฏิรูปบทเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยทำนองเพลงดั้งเดิม
- การให้การศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น มีไม่เพียงพอ
- นักร้องหรือช่างขอไม่ได้รับการส่งเสริมทางวิชาการให้มีความรู้เท่าที่ควร
- การเปลี่ยนแปลงทางภาษาและเนื้อหาของเพลงนั้นมีความสำคัญมากการที่อนุชนสมัยนี้ขาดการสนับสนุนและสนใจเพราะไม่สามารถเข้าถึงภาษา เนื้อหาที่กวีหรือนักร้องโบราณสร้างขึ้นไว้ทำให้ฟังแล้วเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจอีกต่อไปเลยทำให้เพลงห้องถิ่นสูญหายไปจากสังคมไทยในที่สุด อย่างน่าเสียดาย
- การเปลี่ยนแปลงทางเครื่องดนตรี ดนตรีทั้งเดิมเป็นแบบ โมโนโพนี่ (MONOPHONY) คนตรีที่วิวัฒนาการขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งเป็นพวกดนตรีหลายเสียง (POLYPHONY) ดนตรีพื้นเมือง ทาง ร้องและทางดนตรีใช้คนละทำนอง ดนตรีพวกปี่ทำหน้าที่การบรรเลงร่วมเท่านั้น (Accompaniment) ให้จังหวะ (Rhythm)
ในสมัยปัจจุบันการให้ปี่ชุมต่าง ๆ บรรเลงสำหรับการซอลดความสำคัญลงต้องใช้ ซึง สะล้อ และในที่สุดในกีตาร์เข้ามาบรรเลงแทน ผลเสียคือกำหนดเสียงดนตรีระหว่างกีตาร์กับปี่แตกต่างกันไปทำให้การซอไม่ไพเราะเท่าที่ควร - การปฏิรูปบทเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยเพลงดั้งเดิม มีผลดีด้านทำให้คนสมัยใหม่เข้าใจในภาษาเพลงดีขึ้น และสามารถนำทำนองเพลงท้องถิ่นเดิมมาสู่ความนิยมได้อีก แต่ผลเสียก็มีเหมือนกันกล่าวคือ ลีลาเสียงภาษาถิ่น กับภาษาไทยกลางบางอย่างเข้ากันไม่ได้ทำให้เสียความไฟเราะของเพลงไปด้วย
- การศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่นไม่เพียงพอ คือ การละเล่นต่อการให้เยาวชนศึกษาสิ่งสำคัญภายในห้องถิ่นของตนอย่างเข้าใจและรู้จักความสำคัญของสิ่งที่มีอยู่จะได้เป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดความรักและห่วงแหนของดีในท้องถิ่นของตนเรื่องราวเพลงซอ หรือเพลงอื่นมักจะบันทึกเหตุการณ์ ภายในห้องถิ่นไว้ถ้าเข้าใจความหมายความเป็นไปของท้องถิ่นก็จะเกิดการอนุรักษ์และส่งเสริม
- นักร้องและช่างซอไม่ได้รับการศึกษาทางวิชาการอย่างเพียงพอข้อนี้เป็นความจริงช่างซอส่วนมากในภาคเหนือไม่มีคนที่ได้รับการศึกษาถึง มศ. 3 สักคนเดียวมีความรู้ไม่เกิน ป. 7 จึงไม่สามารถเรียบเรียงภาษาให้สละสลวยและเรื่องสารคดีต่าง ๆ ที่เมื่อช่างซอมีความรู้น้อยก็ไม่มีเนื้อหาสาระควรแก่การศึกษาคนสมัยใหม่ที่มีการศึกษาที่จึงเห็นว่าเป็นเรื่องล้าสมัยและเชยเต็มที
ข้อเสนอแนะที่เห็นว่าควรทำ
- ควรจะให้มีการสอนเพลงซอหรือเพลงในท้องถิ่นสำหรับเด็กประถมมัธยมทั่วประเทศ
- ควรจะให้มีการสอนทำเครื่องดนตรีให้เข้ามาตรฐานใช้กันได้ทั่วประเทศ
- ควรจะมีการสัมนาวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเพลงพื้นบ้านอย่างใดอย่างหนึ่งในความอุปถัมภ์ของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่สนใจ
- ควรจะได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจให้มาร่วมกันเป็นลักษณะศูนย์หรือองค์การทางวัฒนธรรม เพื่อปรึกษาหารือทำงานร่วมกันแล้วแต่กรณีไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างทุกวันนี้
- ควรจะมีการสำรวจและเก็บวัตถุโบราณที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น เครื่องดนตรี เพลงซอ หรือบทเพลงโบราณเก็บในเทปหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วแต่กรณี
- ควรจะมีการศึกษาเปรียบเทียบ ลักษณะเพลงของภาคต่าง ๆ ในแง่ของศิลปะ และคุณค่าทางวัฒนธรรม
- ควรจะอนุรักษ์และส่งเสริมเพลงซอพื้นบ้านแล้วแต่กรณีให้ดำรงอยู่และเจริญก้าวหน้า
สำหรับการอ้างอิง:
มณี พยอมยงค์. (2524). เพลงพื้นบ้านล้านนาไทย. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “เพลงพื้นบ้านลานนาไทย”. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.
ผู้จัดทำข้อมูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงกรานต์ สมจันทร์
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ว่าที่ร้อยตรีวรากร วงค์เขียว
ศิษย์เก่าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่