GPD043 นายบุญตัน บุญชัยธนะ

นายบุญตัน เป็นนักดนตรีตาบอดหนึ่งในสิบคนที่เจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck) พบในเชียงใหม่ ไดค์พบนายบุญตันขณะกลับบ้านทางตะวันออกของเชียงใหม่ นายบุญตันนั่งอยู่ริมถนนบรรเลงให้ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ไดค์เชิญนายบุญตันมาที่บ้านพักแล้วจึงบันทึกเสียง นายบุญตันเป็นคนร่าเริง มีเพลงบทเพลงบรรเลงด้วยซึงมากมายที่เขาจำไว้ในใจ ในระหว่างการบันทึกเสียงนายบุญตันจะแนะนำแต่ละเพลงว่า “เพลงแรกของฉันคือ ……. เพลงที่สองของฉันคือ……. (ไปจนถึง) เพลงที่ยี่สิบแปดของฉันคือ………”

นายบุญตันสามารถเล่นเครื่องดนตรีล้านนาอื่นๆ เช่น สะล้อ ปี่ และขลุ่ย เขามีการขโยกในจังหวะซึ่งเป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึงของนายบุญตันมีหูหิ้วและกระดิ่งจักรยานติดไว้ ซึ่งบางครั้งนายบุญตันก็บรรเลงเข้ากันกับเพลงด้วย โดยรวมแล้วเขาดูเหมือนเป็นภาพแห่งชัยชนะเหนือความทุกข์ยากที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่ไดค์เคยเห็นมา ซึ่งไดค์ไม่แน่ใจว่านายบุญตันจะเห็นภาพภายในเหมือนที่ไดค์เห็นหรือไม่ ไดค์ได้บันทึกเสียงนายบุญตันเพียงชุดเดียวหลังจากนั้นก็ไม่พบนายบุญตันอีกเลย

Nai BoonTun was another of the dozen or so blind minstrels I met in and around Chiang Mai. I encountered him while coming home from a village east of Chiang Mai. He was sitting alongside the road playing for passers-by. I invited him to our home then had a full-length recording session. He was a very cheerful, chirpy kind of person with a large repertory of Sueng songs, which he had catalogued in his mind. During the session he would introduce each song saying “My first song is ……. My second song is ……. (all the way to) My twenty-eighth song is ………”

He could play other Lanna instruments such as the Salaw, the Pi and the Klui. He had a bounce in his step and a very upbeat nature. His Sueng had a carrying handle and a bicycle bell attached which he sometimes incorporated into his songs. All in all he seemed the most perfect picture of victory over adversity I ever saw. I wonder if he seemed the same to himself on the inside. I had this one-and- only session with him and never saw him again.

album-art
Gerald P. Dyck's Collection
00:00

ผู้จัดทำข้อมูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงกรานต์ สมจันทร์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *